Skip to main content

3 แนวทางกระตุ้นการลงทุนด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานในเอเชีย

ท่ามกลางวิกฤตสภาพภูมิอากาศในเอเชีย ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุปัจจัยสำคัญ 3 ประการในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านของภูมิภาคไปสู่พลังงานหมุนเวียน
Wind turbine energy generaters on wind farm

ในการประชุม Marsh Asia Energy Industry Conference (EIC) ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เหล่าผู้นำและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมพลังงานได้ร่วมหารือเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่สามารถส่งเสริมนวัตกรรมและกระตุ้นการลงทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างสมดุล

ด้วยภูมิภาคเอเชียมีปริมาณการปล่อยคาร์บอนมากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณทั้งหมดทั่วโลก จึงเป็นประเด็นสำคัญที่องค์กรต่างๆ จะต้องระดมสร้างความพยายามไปสู่แหล่งพลังงานสะอาดเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ในการประชุม EIC ผู้เชี่ยวชาญของ Marsh Asia เห็นพ้องกันว่าการบรรลุเป้าหมายพลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และช่วยให้การเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืนอย่างประสบความสำเร็จนั้นหมายถึงการมุ่งเน้นที่ปัจจัยขับเคลื่อนธุรกิจ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีและนวัตกรรม บุคลากร และเงินทุนและการเงิน

1. เทคโนโลยีและนวัตกรรม

การขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมเพื่อสร้างทางเลือกด้านพลังงานหมุนเวียนในราคาที่เข้าถึงได้

ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินยังคงเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียเนื่องจากราคาที่สามารถจ่ายได้และมีระบบที่เชื่อถือได้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ควรเป็นประเด็นที่สำคัญเนื่องจากหลายประเทศในภูมิภาคนี้ยังพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็วในทศวรรษต่อๆ ไป ทำให้ความต้องการพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนจะยิ่งเป็นประเด็นเร่งด่วนมากขึ้น แม้ว่าพลังงานหมุนเวียนจะมีศักยภาพอย่างมากสำหรับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว แต่ปัจจุบันยังคงเผชิญกับความท้าทายในด้านความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน ดังนั้น ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้พลังงานหมุนเวียนเป็นทางเลือกที่แข่งขันได้ 

เรื่องที่เราได้เห็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของพลังงานสีเขียวคือพลังงานลม นวัตกรรมในทศวรรษก่อนปี 2021 ทำให้ต้นทุนของพลังงานลมลดลงถึง 60% เนื่องจากการพัฒนากังหันที่มีขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพมากขึ้น1 แม้ว่าจะมีความท้าทายในการขนส่งชิ้นส่วนและใบพัดของกังหันที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่นวัตกรรมเหล่านี้ได้นำไปสู่การออกแบบเครื่องบินที่สามารถลงจอดบนรันเวย์ที่สั้นลงได้ ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้สนามบินแบบดั้งเดิม และขยายจำนวนสถานที่ที่สามารถผลิตพลังงานลมบนบกได้2

องค์ประกอบ 3 ประการสำคัญเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในพลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

  • การส่งเสริมจากรัฐบาล
    นโยบายและกฎระเบียบของรัฐบาลไม่เพียงแต่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้บริษัทลงทุนและนำพลังงานสะอาดมาใช้ แต่ยังกำหนดทิศทางและแนวทางสำหรับการลงทุน การพัฒนา รวมถึงทิศทางโดยรวมของบริษัทและอุตสาหกรรมอีกด้วย ตัวอย่างเช่น รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกพันธบัตรมูลค่า 140 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีการเปลี่ยนผ่านพลังงาน และมีแผนที่จะใช้การกำหนดราคาคาร์บอนในปี 20263 การผสมผสานระหว่างการสนับสนุนทางการเงินและการเก็บภาษีคาร์บอนนี้ไม่เพียงแต่กระตุ้นการนำพลังงานสะอาดมาใช้ แต่ยังสนับสนุนบริษัทที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ ซึ่งจะช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน
  • ความต้องการของผู้บริโภค
    พฤติกรรมของผู้บริโภคและความยั่งยืนมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน ดังที่เห็นได้จากอุตสาหกรรมสิ่งทอ ความต้องการของผู้บริโภคเป็นตัวขับเคลื่อนความยั่งยืนที่สำคัญ โดย 87% ของผู้บริโภคในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแสดงความสนใจในการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนอย่างมาก ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 73%4  การเปลี่ยนแปลงในความคาดหวังและการตระหนักรู้ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นได้กระตุ้นให้อุตสาหกรรมสิ่งทอของบังกลาเทศนำแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้ เช่น การใช้เทคโนโลยีการซักแห้งเพื่อลดการใช้น้ำและพลังงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้วยการนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ (waste heat recovery) มาตรการเชิงรุกเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองของอุตสาหกรรมต่อความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค และแสดงถึงความมุ่งมั่นในการบรรลุอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น

  • พันธมิตร
    การส่งเสริมนวัตกรรมและการสร้างความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเป็นสิ่งสำคัญต่อการขับเคลื่อนความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก การนำเงินกลับมาลงทุนในสถาบันการศึกษาและการวิจัยที่ส่งเสริมนวัตกรรมเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากช่วยบ่มเพาะการพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชันที่ล้ำสมัย

การสร้างความร่วมมือยังส่งเสริมการทำงานและการดำเนินการร่วมกันอีกด้วย วิธีการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมครอบคลุมทุกภาคส่วนนี้เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถนำความเชี่ยวชาญ ทรัพยากร และมุมมองต่างๆ มาร่วมกันขจัดความท้าทายเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน ซึ่งการทำงานร่วมกันและความร่วมมือในมิติต่างๆ จะสามารถเอื้ออำนวยให้เกิดการแบ่งปันความรู้ การเข้าถึงเงินทุน และการนำแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

ข้อมูลเชิงลึก: นวัตกรรมไฮโดรเจน

ไฮโดรเจนกำลังได้รับความสนใจในฐานะเชื้อเพลิงทางเลือกในเอเชีย โดยคาดว่าความต้องการจากจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้จะคิดเป็นประมาณ 70% ของความต้องการทั่วโลกภายในปี 2040 ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้การผลิต การขนส่ง และการเก็บรักษาไฮโดรเจนเป็นไปอย่างคุ้มค่า

ตัวอย่างที่มีการกล่าวถึงในที่ประชุมเกี่ยวกับโรงงานผลิตไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาที่ใช้ถ้ำเกลือในการเก็บไฮโดรเจนที่เป็นส่วนเกินจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ไฮโดรเจนนี้ถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อเสริมความสามารถของพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีอยู่เดิมในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น และเพื่อชดเชยราคาที่ติดลบในช่วงที่มีการผลิตไฟฟ้ามากเกินไป

เนื่องจากการลงทุนทั่วโลกในโรงงานผลิตไฮโดรเจนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว Marsh จึงได้เปิดตัวโครงการประกันภัยเพื่อคุ้มครองการลงทุนในโครงการไฮโดรเจน โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประกันภัยชั้นนำระดับโลก โครงการนี้ให้ความคุ้มครอง 100% สำหรับความเสี่ยงในการก่อสร้างและการดำเนินงาน และสามารถใช้ได้กับโครงการไฮโดรเจนทุกแห่งทั่วโลก

เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของการร่วมมือกับอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยคาร์บอนสูงในการสนับสนุนความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำในอนาคต และความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคส่วนที่มีความท้าทาย Marsh จึงได้แนะนำเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) เฉพาะทางสำหรับการขนส่งและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อย่างมีประสิทธิภาพ

2. บุคลากร

การพัฒนาบุคลากรที่หลากหลายและคล่องตัวเพื่อเติมเต็มทักษะใหม่ๆ ด้านพลังงานหมุนเวียน

การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มที่จะสร้างโอกาสการจ้างงานใหม่ๆ รวมถึงงานสีเขียวประมาณ 24 ล้านตำแหน่งภายในปี 2023 ซึ่งจะมีการเปลี่ยนอาชีพถึง 14% ของแรงงานทั่วโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมพลังงานกำลังเผชิญกับความท้าทายในการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานรุ่นใหม่ที่มุ่งไปสู่อาชีพในบทบาทและอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและข้อมูลมากขึ้น ส่งผลให้องค์กรหลักๆ ในอุตสาหกรรมพลังงานตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับตัวและดึงดูดกลุ่มบุคลากรรุ่นใหม่นี้ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านพลังงานประสบความสำเร็จและยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีทักษะและความหลากหลายเพิ่มขึ้นเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปข้างหน้า ทั้งนี้ การวิจัยพบว่าบริษัทพลังงานอาจไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้ เนื่องจากมีเพียง 38% ของบริษัททั้งหมดจากการสำรวจเท่านั้นที่มีความเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับทักษะที่แรงงานมีอยู่ในปัจจุบัน5

การวางแผนกำลังคนเชิงกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อแก้ไขปัญหาช่องว่างด้านทักษะและลดความเสี่ยงจากการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการพัฒนาทักษะและการเพิ่มทักษะใหม่ให้กับพนักงานที่มีอยู่เพื่อเตรียมความพร้อมด้านทักษะที่จำเป็นในภาคพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ บริษัทจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างการทำงานใหม่และสร้างโอกาสการเติบโตในสายอาชีพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพของบุคลากร การลงทุนในการสร้างเสริมทักษะเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งในกลุ่มพนักงานเดิมและการดึงดูดบุคลากรใหม่ที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงาน

การแก้ไขความท้าทายด้านบุคลากรอย่างจริงจังและการยอมรับความหลากหลายในแรงงานจะช่วยให้อุตสาหกรรมพลังงานสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ประสบความสำเร็จและยั่งยืน

ข้อมูลเชิงลึก: ช่วยบริษัทเหมืองแร่ในการลดช่องว่างรายได้ที่ต่างกันเพราะเพศสภาพ (Gender Pay Gap)

บริษัทเหมืองแร่และโลหะระดับนานาชาติที่มุ่งมั่นสร้างสมดุลทางเพศในแรงงานภายในปี 2025 โดยการดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถในรูปแบบแบบยั่งยืนมากขึ้น ในการบรรลุเป้าหมายนี้ Marsh ได้ร่วมมือกับบริษัทแห่งนี้ในการออกแบบงานใหม่และปิดช่องว่างรายได้ที่ต่างกันเพราะเพศสภาพ โดยมีจุดสำคัญคือการขจัดอคติในกระบวนการสรรหาและนโยบายต่างๆ 

3. ทุนและการเงิน

การจัดหาเงินทุนและประกันภัยสีเขียวที่คุ้มค่า

การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนจำเป็นต้องมีการลงทุนจำนวนมาก โดยโครงการที่พึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องการการสนับสนุนทางการเงิน การลงทุนจะต้องเพิ่มขึ้นสามเท่าจากระดับปัจจุบันเพื่อให้ถึงมูลค่าประมาณ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี6 เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตาม อาจมีความท้าทายเกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องการจัดหาเงินทุนและการประกันภัยที่มีต้นทุนต่ำ เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการ โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ

อุตสาหกรรมประกันภัยสามารถมีบทบาทสำคัญในการเอาชนะความท้าทายเหล่านี้โดยการทำหน้าที่เป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ โดยมีส่วนร่วมตั้งแต่จุดเริ่มต้นของวงจรชีวิตของโครงการ ผู้แทนประกันภัยสามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความเป็นไปได้ของโครงการ และยังสามารถส่งเสริมการกำหนดราคาที่แตกต่างสำหรับความคุ้มครองประกันภัยสีเขียว ซึ่งอาจเรียกว่า 'greenium' พร้อมกับเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่ดี

ในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานให้สำเร็จ จำเป็นต้องใช้ทุนและการเงินเป็นตัวเร่งและตัวสนับสนุนสำหรับการวิจัย การพัฒนา และการนำไปใช้ โดยการสนับสนุนบริษัทในขั้นตอนเหล่านี้ Marsh สามารถส่งเสริมนวัตกรรมและเร่งการนำทางเลือกด้านพลังงานที่ก้าวหน้าและยั่งยืนมาใช้ นอกจากนี้ การร่วมมือกับสถาบันการศึกษาระดับสูงยังสามารถเพิ่มการแบ่งปันความรู้และขับเคลื่อนความก้าวหน้าในสาขานี้ได้ และการมุ่งเน้นที่ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและสังคมจะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านนี้เกิดความยั่งยืน

โดยสรุปแล้ว ทุนและการเงินเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปข้างหน้าเมื่อใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ข้อมูลเชิงลึก: โครงการการเงินผสมผสานเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงานของเอเชีย

หน่วยงานทางการเงินของสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ได้เปิดตัวโครงการการเงินผสมผสานที่มุ่งเน้นเอเชีย ชื่อว่า Financing Asia’s Transition Partnership (Fast-P) เพื่อสนับสนุนการยุติการใช้ถ่านหินในระยะแรก (early phasing out of coal) และการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (decarbonisation) ในภาคส่วนที่ดำเนินการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ยาก (hard-to-abate sector) เช่น การผลิตปูนซีเมนต์และเหล็กกล้า เป็นต้น โดยมีองค์กรระดับโลกอย่าง Asian Development Bank (ADB) และ Global Energy Alliance for People and Planet (GEAPP) เข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย โครงการ FAST-P มีเป้าหมายที่จะระดมทุนที่มีเงื่อนไขพิเศษจากทั่วโลก และดึงดูดทุนภาคเอกชนเพื่อกระจายความเสี่ยงและสนับสนุนโครงการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน 

การสำรวจเส้นทางที่หลากหลายสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ประสบความสำเร็จในเอเชีย

ด้วยความหลากหลายของประชากร เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ และสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้แต่ละประเทศในเอเชียเผชิญกับความท้าทายที่แตกต่างกันในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero) ในรายงานปี 2021 ของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific หรือ ESCAP) ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการ "พยายามและมุ่งเน้นอย่างมากจากรัฐบาล ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน" เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาสังคม ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

ความร่วมมือคือกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างประสบความสำเร็จ ตั้งแต่การพัฒนานโยบายไปจนถึงการระดมทุนจากภาคเอกชน การนำทางในเส้นทางต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อย่างประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด การทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายในการสร้างสมดุลพลังงานทั้ง 3 มิติ ได้แก่ ความสามารถในการจ่ายและการเข้าถึง ความมั่นคงทางพลังงาน และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสำคัญในการรับรองว่าความพยายามในการเปลี่ยนผ่านพลังงานสามารถขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้

สำรวจวิธีการก้าวข้ามความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานหมุนเวียน

พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของ Marsh แบบไม่มีข้อผูกมัดได้เลยวันนี้

Please note that Marsh PB Co., Ltd and Marsh McLennan are not engaged by nor involved in any manner with Bonus Ranch and its promotion, and has not placed any insurance for nor insured any of its businesses or operations. Marsh as a licensed insurance broker will not request customers to make payment via non-standard methods, such as the transfer of money to any individual’s bank account.